ปริญญาตรี,เศรษฐศาสตรบัณฑิต

เศรษฐศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิตเปิดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ ปี 2513 และมีการพัฒนาหลักสูตรมาอย่างต่อเนื่อง หลักสูตรมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่มีความเข้มข้นทางวิชาการและสอดคล้องกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน เนื้อหาหลักประกอบด้วยรายวิชาภาคทฤษฎีเชิงลึก เครื่องมือเชิงปริมาณ รายวิชาเพื่อความรู้ที่เท่าทันเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และรายวิชาที่เน้นในการประยุกต์องค์ความรู้ในเชิงบูรณาการ ตลอดจนกิจกรรมการศึกษาดูงานเพื่อให้นิสิตมีความเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ปัญหาทางเศรษฐกิจทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

หลักสูตรจัดการเรียนการสอนในระบบทวิภาค โดยในหนึ่งปีการศึกษา แบ่งออกเป็น ภาคการศึกษาต้น (สิงหาคม-ธันวาคม) และภาคการศึกษาปลาย (มกราคม-พฤษภาคม)

ค่าเล่าเรียนเรียกเก็บในอัตราเหมาจ่ายรายภาคการศึกษา โดยเป็นไปตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรื่องอัตราการเรียกเก็บเงิน
ค่าเล่าเรียน และเงินเรียกเก็บประเภทอื่น ๆ สำหรับนิสิต ที่ใช้บังคับขณะที่นิสิตผู้นั้นเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปีแรก

คณะเศรษฐศาสตร์ คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษาละประมาณ 150 คน ตามระบบการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ในโครงการต่าง ๆ ตามรอบการรับสมัครของ ทปอ. ดังนี้

  1. รอบที่ 1 แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) (การรับสมัครคัดเลือก)
  2. รอบที่ 2 การรับแบบโควตาที่มีการสอบข้อเขียนหรือข้อปฏิบัติ
    1. การรับนักเรียนจากชนบทเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (โครงการจุฬาฯ-ชนบท) (การรับสมัครคัดเลือก)
    2. การรับนักเรียนไทยใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าศึกษาในคณะเศรษฐศาสตร์ (การรับสมัครคัดเลือก)
    3. นักเรียนผู้มีความสามารถดีเด่นระดับชาติทางกีฬา (โครงการพัฒนากีฬาชาติ) (การรับสมัครคัดเลือก)
  3. รอบที่ 3 Admission

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.atc.chula.ac.th/TCAS/home.html หรือ https://www.chula.ac.th/admissions/undergraduate-admission/
ดาวน์โหลดโบรชัวร์: ดาวน์โหลด

หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตร 4 ปีการศึกษา นิสิตสามารถเลือกเรียนได้ดังนี้

แบบที่ 1 เอกเดี่ยว เลือกสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาเอก โดยคณะเศรษฐศาสตร์มีกลุ่มวิชาที่หลากหลายให้ผู้เรียนเลือกตามความสนใจ หรือ

แบบที่ 2 เอกโท เลือกเรียนเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาเอก และเลือกเรียนวิชาโทข้ามศาสตร์จากคณะอื่น ๆ เพื่อเสริมโอกาสในการศึกษาต่อและการทำงานของนิสิต เช่น คณะรัฐศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ คณะจิตวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์

โครงสร้างหลักสูตร

 

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561

 

 

วิชาเอกแบบเอกเดี่ยว

 

 

วิชาเอกแบบเอก-โท

 

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

135

147

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

42

42

2. หมวดวิชาเฉพาะ

87

81

   2.1 วิชาแกน

60

60

   2.2 วิชาเฉพาะทางเศรษฐศาสตร์

15

15

   2.3 วิชาเลือกทางเศรษฐศาสตร์

9

3

   2.4 วิชาปริญญานิพนธ์

3

3

3. กลุ่มวิชาโท

ไม่น้อยกว่า 18

4. หมวดวิชาเลือกเสรี

6

6

โดยนิสิตสามารถเลือกเรียนกลุ่มวิชาเฉพาะที่สนใจ ประกอบด้วย

  1. กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ทฤษฎี
  2. กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา
  3. กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
  4. กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณะ
  5. กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน
  6. กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ปริมาณวิเคราะห์
  7. กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์แรงงานและทรัพยากรมนุษย์
  8. กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
  9. กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยองค์กรและองค์กรอุตสาหกรรม
 

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564

 

 

วิชาเอกแบบเอกเดี่ยว

 

 

วิชาเอกแบบเอก-โท

 

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

131

143

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

39

39

2. หมวดวิชาเฉพาะ

86

80

   2.1 วิชาแกน

56

56

   2.2 วิชาเลือก

27

21

   2.3 วิชาปริญญานิพนธ์

3

3

3. กลุ่มวิชาโท

ไม่น้อยกว่า 18

4. หมวดวิชาเลือกเสรี

6

6

  1. หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2557)
  2. หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
  3. หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
    3.1 หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) นิสิตที่เข้าปี 64-65
    3.2 หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) นิสิตที่เข้าปี 66 เป็นต้นไป
  4. กลุ่มวิชาโทเศรษฐศาสตร์ (บริการนอกคณะ)
    รายวิชาโทที่เปิดสอน ปีการศึกษา 2567
  5. โครงการนิสิตแลกเปลี่ยน
    แนวปฏิบัติในการขอเทียบโอนหน่วยกิตรายวิชา
    แบบฟอร์มตรวจสอบเอกสารการขอเทียบโอนหน่วยกิตรายวิชา
    หนังสือขอเทียบโอนหน่วยกิตรายวิชา
    แบบฟอร์มตารางเปรียบเทียบรายวิชา
    ผล-แผนการศึกษา
    รายวิชาที่ได้รับอนุมัติเทียบโอนหน่วยกิตแล้ว
    รายชื่อรายวิชา Study Abroad
  6. ใบสมัครเข้าศึกษาหลักสูตรเศรษฐศาสตร์บัณฑิต แบบเอก-โท
    แบบฟอร์มใบสมัครขอเรียนวิชาโทนอกคณะฯ
    แบบฟอร์มแจ้งยกเลิกวิชาโทนอกคณะฯ

คณะกรรมการบริหารหลักสูตร

นางสาวชัญญณัฐ พูลอ่อน
ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
ผู้ช่วยเลขานุการ

นางกิ่งทอง คงคาน้อย
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านหลักสูตรและการจัดการศึกษา
ผู้ช่วยเลขานุการ

นางสาวสุมณฑา โห้ยุขัน
หัวหน้าหน่วยทะเบียน
ผู้ช่วยเลขานุการ

ติดต่อเรา

ที่อยู่: หน่วยทะเบียน คณะเศรษฐศาสตร์
ห้อง 301 ชั้น 3 อาคารเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่อยู่ 254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทรศัพท์: (+66) 2218-6254-55
E-Mail: registrar.econcu@gmail.com

3 / 2 Load More