มกราคม 4, 2024

เศรษฐกิจไทย ปี 2567 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิพิฐ วงศ์ปัญญา คอลัมน์เศรษฐเสวนา จุฬาฯทัศนะ

📰 คอลัมน์เศรษฐเสวนา จุฬาฯทัศนะ

เศรษฐกิจไทย ปี 2567
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิพิฐ วงศ์ปัญญา คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอลัมน์เศรษฐเสวนา จุฬาฯทัศนะ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3955

เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา อาทิ ประเทศไทยของเรานั้น การเติบโตต่อปีของรายได้ต่อหัวอย่างน้อยไม่ควรจะต่ำกว่า 4.5% การเติบโตต่อปีของรายได้ต่อหัวมีความสำคัญในการยกระดับมาตรฐานการครองชีพ หรือรายได้ต่อหัวของประชาชน การเติบโตต่อปีของรายได้ต่อหัวที่ระดับ 4.5% จะใช้เวลา 16 ปี ที่จะทำให้รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัว และจะใช้เวลา 25 ปี ที่จะทำให้รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นสองเท่าตัว

IMF ได้คาดการณ์รายได้ต่อหัวของไทยปีนี้ หรือ ปี 2566 อยู่ที่ 7,300 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ การเติบโตในระดับ 4.5% จะใช้เวลา 16 ปี ที่จะทำให้รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นเป็น 14,600 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ และ 21,900 เหรียญดอลลาร์สหรัฐในเวลา 25 ปี

เมื่อมองย้อนดูการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา การเติบโตต่อปีของรายได้ต่อหัวไม่เคยถึง 4% สูงสุด คือ 3.9% ในปี 2561 ก่อนวิกฤตโควิด-19 ช่วงปี 2556 ถึงปี 2562 การเติบโตต่อปีของรายได้ต่อหัวเฉลี่ยของไทยอยู่ที่ 2.52% ซึ่งต่ำกว่าระดับศักยภาพอยู่มาก แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจไทยมีปัญหาเชิงโครงสร้าง ระดับศักยภาพของเศรษฐกิจไทยค่อยๆ ลดลง วิกฤตโควิด-19 ปี 2563 ส่งผลกระทบรุนแรงทำให้การเติบโตติดลบถึง 6.3%

หลังจากนั้น เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างช้าๆ ปี 2564 และปี 2565 มีการเติบโตที่ 1.3% และ 2.5% ตามลำดับ ในปีนี้ 2566 ข้อมูลจากสภาพัฒน์ฯ ชี้ว่า ไตรมาสแรกเศรษฐกิจไทยมีการเติบโต 2.6% แต่ในไตรมาสที่สอง และที่สาม การเติบโตลดลงอยู่ที่ 1.8% และ 1.5% ตามลำดับ และคาดการณ์ว่าปีนี้ทั้งปีการเติบโตอยู่ที่ 2.5%

เศรษฐกิจไทยตอนนี้ไม่ได้อยู่ในภาวะวิกฤต เศรษฐกิจไทยเพิ่งผ่านภาวะวิกฤตโควิด-19 มาและตามวัฏจักรธุรกิจเศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยเมื่อดูจากข้อมูลแล้วเป็นไปอย่างค่อนข้างช้า

ปี 2567 เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวต่อเนื่องอย่างช้าๆ จากวิกฤตโควิด-19 สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน และวิกฤตค่าครองชีพที่สูงขึ้น แม้ว่าสงครามจะทำให้เกิดการหยุดชะงักของตลาดพลังงาน และอาหาร และสภาวะทางการเงินโลกที่ตรึงตัวอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เศรษฐกิจโลกยังคงมีการเติบโตแต่จะเป็นไปอย่างช้าๆ

ปี 2566 IMF คาดว่า เศรษฐกิจโลกมีการเติบโต 3% และปี 2567 เติบโต 2.9% เงินเฟ้อทั่วไปลดลงเรื่อยๆ จาก 9.2% ในปี 2565 มาอยู่ที่ 5.9% ในปี 2566 และปี 2567 คาดว่าจะลงต่อเนื่องและอยู่ที่ 4.8% เงินเฟ้อจะลดลงต่อเนื่อง แต่จะไม่ก่อให้เกิดการถดถอยของเศรษกิฐครั้งใหญ่

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละเศรษฐกิจ กลุ่มประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วจะมีการเติบโตที่ช้ากว่ากลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ หรือ กำลังพัฒนา

ปัจจัยเสี่ยงในปี 2567 ซึ่งทำให้เศรษฐกิจโลกมีการเติบโตที่ช้า และทำให้ระบบการเงินโลกมีความผันผวน คือ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งมาตรการกีดกันการค้าระหว่าง สหรัฐฯ และ จีน ความยืดเยื้อของสงครามระหว่าง รัสเซีย และ ยูเครน รวมไปถึงความไม่แน่นอนของสงครามระหว่าง อิสราเอล กับ กลุ่มฮามาส

แนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน จากปัญหาหนี้สินในภาคอสังหาริมทรัพย์ และ การชะลอตัวลงของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ การลดลงของพื้นที่ทางการคลังในหลายประเทศ ที่ประสบกับภาวะหนี้สินในระดับสูง ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง

นอกจากนี้ ความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์และสงครามในอิสราเอล อาจสร้างความผันผวนของราคาพลังงาน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ส่งผลให้มีแรงกดดันต่อเงินเฟ้อให้สูงขึ้นกว่าที่คาด

อย่างไรก็ตาม คาดว่าสงครามในอิสราเอลจะไม่ขยายตัวออกไปยังประเทศอื่นในตะวันออกกลาง และไม่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินอย่างมีนัยสำคัญ

สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2567 การท่องเที่ยวและส่งออกยังคงเป็นปัจจัยหลักในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ปี 2566 การท่องเที่ยวฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าจะต่ำกว่าเป้าหมาย ปี 2567 คาดว่า การท่องเที่ยวจะมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากปี 2566

การส่งออกของไทยจะกลับมาขยายตัว สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก สภาพัฒน์ฯ ชี้ว่ามูลค่าการส่งออกเริ่มกลับมาขยายตัวตั้งแต่เดือนกันยายน การลงทุนภาคเอกชนและการอุปโภคบริโภคภายในประเทศมีการขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2566 เนื่องจากเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 1.7-2.7% ส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทย มีโอกาสใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในปี 2567

ในส่วนของนโยบายการคลังนั้น ไม่ควรตามวัฏจักรธุรกิจมากเกินไปกล่าวคือ ในปี 2567 ควรเน้นไปที่การรักษาวินัยทางการคลัง และเพื่อสร้างพื้นที่ทางการคลังอีกครั้ง ซึ่งถูกทำให้หดหายไปในช่วงวิกฤตโควิค-19

อย่างไรก็ตาม หลายองค์กรได้คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2567 มีการเติบโตอยู่ที่ประมาณ 3% ซึ่งยังคงต่ำกว่า 4.5%

เศรษฐกิจไทยเราควรเน้นไปที่ระยะกลาง ซึ่งยังเห็นภาพไม่ชัด การเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะกลางยังคงอ่อนแอ หลายปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน อาทิ เวียดนาม และ มาเลเซีย จะพบว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยนั้น ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย แนวโน้มก่อนเกิดวิกฤตโควิค-19 ดูประหนึ่งว่าจะเป็นไปได้ไม่ไกล แต่ถึงกระนั้นก็ตาม เศรษฐกิจของไทยก่อนวิกฤตโควิด ก็เป็นเศรษฐกิจที่มีปัญหาเชิงโครงสร้าง การลู่เข้าของเศรษฐกิจไทยไปสู่มาตรฐานของประเทศที่พัฒนาแล้วช้าลงไปเรื่อยๆ หนี้ครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

นอกจากนี้ ประกอบกับยังมีประเด็นในเรื่องของการลดพื้นที่ทางการคลัง เมื่ออัตราการเติบโตต่ำ อัตราดอกเบี้ยสูง และพื้นที่ทางการคลังลดลง กุญแจคือ การปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเติบโตอย่างมีเสถียรภาพของรายได้ต่อหัว สามารถเกิดขึ้นได้จากการปฏิรูปโครงสร้างอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและอย่างรอบคอบ

เริ่มจากการปกครอง การควบคุมและการจัดการที่ดี รวมไปถึงระเบียบข้อบังคับทางธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลต่อไปยังตลาดเงินและตลาดทุน ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รัฐบาลจำเป็นต้องสนับสนุนและส่งเสิรมให้มีการสะสมทุนและมีการขับเคลื่อนการลงทุน

รัฐบาลควรมีแผนผลักดันนโยบายต่างๆ ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจผ่านการพัฒนาเทคโนโลยี และ นวัตกรรม มีนโยบายที่มุ่งเน้นให้บริษัทไทยสร้างองค์ความรู้ใหม่ และนวัตกรรมผ่านการทำวิจัยและพัฒนา

รวมไปถึงการพัฒนาทุนมนุษย์ และความสามารถของแรงงานไทย เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูงขึ้นซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

การเติบโตที่ระดับ 4.5% ต่อปีต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 16 ปี ไม่ได้ยืนยันว่า รายได้ต่อหัวของไทยเราจะเท่ากับรายได้ของประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ถ้าเราทำไม่ได้ ประเทศไทยจะถูกทิ้งห่างไปเรื่อยๆ จากประเทศเพื่อนบ้านและต้องใช้เวลาอีกไม่รู้นานแค่ไหน ที่ประเทศไทยเราจะใกล้เคียงกับประเทศที่พัฒนาแล้ว

แต่ยังพบว่า มีอุปสรรคในการดำเนินการค่อนข้างมาก เพราะยังขาดข้อมูลอีกหลายชุดที่จะช่วยประมวลผลความสุ่มเสี่ยงต่อการคอร์รัปชัน เช่น ข้อมูลผู้ทิ้งงาน ข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ หรือชุดข้อมูลอื่น ๆ ตามที่องค์กรระหว่างประเทศมีการศึกษา และพัฒนาเป็นแนวทางการจัดทำชุดข้อมูลเปิดเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน เพื่อจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่อกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน

 “…สำหรับประเทศไทย สถานการณ์การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐยังคงไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลว่าด้วยข้อมูลเปิด ตั้งแต่หลักการของกฎหมายข้อมูลข่าวสารที่ยังไม่บรรจุหลักการ “เปิดเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” ทำให้การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐในปัจจุบัน ขึ้นอยู่กับหน่วยงานเจ้าของข้อมูลว่าต้องการเปิดเผยข้อมูลใด ข้อมูลที่ถูกเปิดเผยมีความล่าช้า ไม่เป็นปัจจุบัน คุณภาพของข้อมูล เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่มีความน่ากังวลทั้งในแง่ของความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล โครงสร้างที่ไม่ชัดเจนของข้อมูลแต่ละชุด ไม่มีคำอธิบายข้อมูล 

อีกทั้งยังเปิดเผยในรูปแบบไฟล์ที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถนำไปประมวลผลต่อได้ ทำให้ในบางครั้งขัดกับหลักการการเปิดให้ใช้งานข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากผู้ใช้งานข้อมูลมีความจำเป็นต้องทำหนังสือ เพื่อขอการเข้าถึงข้อมูลสำคัญในบางชุดข้อมูล อีกทั้งยังมีค่าธรรมเนียมของหน่วยงานรัฐในการจัดทำข้อมูลเป็นดิจิทัล ให้ กับประชาชนผู้ร้องขอข้อมูล 

นั่นย่อมเป็นอุปสรรคต่อการไปสู่เป้าหมายของข้อมูลเปิด คือ เพื่อสร้างความโปร่งใสและพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในด้านต่าง ๆ ในขณะเดียวกันการกำหนดชุดข้อมูลเปิดเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน ยังไม่มีการดำเนินการที่ชัดเจนว่าควรประกอบด้วยชุดข้อมูลใดบ้าง และแต่ละชุดข้อมูลนั้นควรดำเนินการเปิดเผยโดยมีรายละเอียดอย่างไร ในรูปแบบใด...”

งานวิจัยเหล่านี้ ถ้าไม่เอามาลงมือทำจริง ก็คงขึ้นหิ้งแน่นอน ดังนั้น ทีมวิจัยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงได้เริ่มลงมือทำ ด้วยความร่วมมือกับ ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน (KRAC) คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ มูลนิธิเพื่อคนไทย องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน WeVis ทีม HAND Social Enterprise ทีม คะน้า Research Curator

และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม“อาสาพา (PAR) กรอก” เพื่อสร้างการเรียนรู้การใช้ข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Data) และส่งเสริมการตระหนักรู้ในบทบาทของประชาชนที่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ได้ผ่านการสร้างฐานข้อมูลด้วยการแปลงข้อมูลบัญชีทรัพย์สินฯ ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลบนฐานข้อมูล ACT Ai Politics Data

การเปิดให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในสร้างฐานข้อมูลเปิดในครั้งนี้ ถือเป็นกำลังสำคัญในการสร้างความโปร่งใสทางการเมือง เพราะประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และสามารถร่วมติดตามตรวจสอบข้อมูล หรือ ข้อสงสัยในบัญชีทรัพย์สินฯ นักการเมืองได้ ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล นำไปสู่การพัฒนาฐานข้อมูล และสร้างเครือข่ายที่จะเข้ามาร่วมมือกันแก้ไขปัญหาคอรร์รัปชันในอนาคตได้อีกด้วย 

ผู้อ่านท่านไหนสนใจ อยากรู้ว่า ทำไมนักการเมืองคนนี้รวยแบบไม่เกรงใจใคร ? นาฬิกาหลายสิบล้านมาจากไหนหลายเรือน ? ถ้าประชาชนอย่างเราสงสัยจะดูข้อมูลได้จากไหนบ้าง ? สามารถร่วมเข้ามาติดตามตรวจสอบข้อมูลบัญชีทรัพย์สินฯ นักการเมืองได้บนแพลตฟอร์ม ACT Ai Politics Data (https://poldata.actai.co/) 

ทั้งหมดนี้ คือ ตัวอย่างการต่อต้านคอร์รัปชันที่ “เรา” ในทุกความหมาย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันต่าง ๆ ทั้งรัฐ เอกชน ประชาสังคม หรือ ประชาชนทุกคน สามารถมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันได้จริง บนพื้นฐานของการวิจัยเชิงวิชาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงานอย่างเป็นระบบที่ยั่งยืนครับ

บทความต้นฉบับ ➡️ เศรษฐกิจไทย ปี 2567